เครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

เครื่อง กลึง cnc คือ, การใช้เครื่องกลึง cnc เบื้องต้น, วิธี ใช้ เครื่อง กลึง cnc, เครื่องกลึง cnc ขนาดใหญ่

ลักษณะของ เครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

1. ตัวเครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

เครื่อง CNC สำหรับงานกลึงจะประกอบไปด้วย 2 แกนหลัก ซึ่งจะมีการเดินเพียง 2 ทิศทาง แบ่งเป็น

  • แกน X สำหรับแกนสั้น
  • แกน Z สำหรับแกนยาว

เครื่องกลึง CNC นั้นจะทำงานโดยการสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ CNC controller สำหรับควบคุมเครื่อง CNC และมีมอเตอร์สำหรับหมุนชิ้นงานบนหัวกลึงและใช้มีดกลึงเคลื่อนที่ตามแบบงานของผู้ใช้ หากเป็นเครื่องกลึง CNC ที่มีขนาดใหญ่อาจจะมีระบบเปลี่ยนมีดอัตโนมัติร่วมด้วยเพื่อการกลึงงานที่หลากหลายมากขึ้น

2. ระบบการควบคุมเครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

เครื่องกลึง CNC จะมีระบบที่ใช้ควบคุมตัวเครื่องแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานและงบประมาณ ระบบควบคุมนี้จะเป็นระบบควบคุมเฉพาะทางที่ใช้กับเครื่องกลึงโดยเฉพาะเท่านั้น ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง CNC กลึง โดยทั่วไปคือ

  • ออกแบบชิ้นงาน   (CAD)
  • เขียน GCODE จากแบบชิ้นงาน (CAM)
  • นำ GCODE ของงานมาใส่เครื่อง CNC
  • ตั้งศูนย์ของมีดกลึงตามแบบ
  • เริ่มกลึงงาน

โดยที่ขั้นตอนออกแบบชิ้นงานและการสร้าง GCODE นั้นสามารถทำได้ด้วยตัวผู้ออกแบบเองผ่านหน้าจอระบบควบคุมหรือสามารถใช้ซอฟแวร์ในท้องตลาดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็น CAD/CAM ได้

3. เครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe ทำอะไรได้บ้าง

เครื่องกลึง CNC คือเครื่องที่เหมาะสำหรับการกลึงงานซึ่งจะนับเป็นรูปแบบเดียวคือการเคลื่อนที่แบบ 2 มิติแต่ผลลัพธ์งานที่ออกจากงานกลึงจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลม เครื่องกลึง CNC สามารถกลึงชิ้นงานที่มีรูปแบบที่ยากกว่าเครื่องกลึงแมนนวลปกติ เช่น งานกลึงที่เป็นผิวโค้งที่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่ชำนาญมากๆในการใช้เครื่องกลึงแมนนวลปกติ หรือการกลึงเกลียวที่ไม่จำเป็นต้องปรับระบบเฟืองของตัวเครื่องถ้าเทียบกับเครื่องกลึงชนิดปกติ รูปแบบการกลึงงาน เช่น การกลึงเกลียว กลึงปอก กลึงปาดหน้า กลึงโค้ง กลึงเซาะร่อง กลึงคว้านใน และอื่นๆ สามารถทำได้ทั้งหมดบนเครื่องกลึง CNC ตัวอย่างงานกลึงที่ใช้เครื่อง CNC

4. งานในอุตสาหกรรมอะไรบ้างที่ใช้เครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

  • งานในอุตสาหกรรมการสร้างอะไหล่รถยนต์ ที่มีลักษณะเป็นเพลากลม
  • งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโลหะเช่นเฟอร์นิเจอร์ เช่น ขาโต๊ะ ราวบันได
  • งานกลึงชิ้นงานตามสั่งลูกค้า
  • งานสร้างอะไหล่จักรยานยนต์หรือจักรยาน
  • งานสร้างแกนเพลาสำหรับมอเตอร์
  • งานสร้างรูปแบบเพลา อื่นๆ

5. การเลือกเครื่องกลึง CNC หรือ CNC Lathe

  • ต้องทราบวัตถุดิบที่แข็งที่สุดและอ่อนที่สุดที่จะกลึง เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ พลาสติก หรือ อื่นๆ เพราะคุณสมบัติของวัตถุดิบเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก และการเลือกเครื่อง CNC กลึงจะต้องเลือกตามวัตถุดิบเหล่านี้เป็นหลัก
  • ต้องทราบขนาดชิ้นงานที่ต้องการกลึงว่ามี ความโต หรือ Diameter แกนเพลาเท่าไหร่ และ ความยาวของชิ้นงานเท่าไหร่
  • ต้องทราบความละเอียดที่จำเป็นของงานซึ่งสำคัญมากเพราะระบบควบคุมและความแข็งแรงของตัวเครื่องมีผลต่อความแม่นยำนี้ ความแม่นยำนี้บอกเป็นขนาด เช่น งานผิดพลาดได้ ±0.05 mm
  • ควรทราบระยะเวลาทำงานของงานที่จะทำเบื้องต้น เนื่องจากเครื่อง CNC ที่มีขนาดเล็กกว่าถึงแม้จะทำงานได้เหมือนเครื่องที่ใหญ่แต่ก็มักจะมีความแข็งแรงไม่เท่าเครื่อง CNC ที่มีขนาดใหญ่กว่าจึงทำให้กลึงงานได้ช้ากว่าเพราะไม่สามารถกลึงงานได้ครั้งละมากๆ และความสวยงามของผิวกลึงในเครื่องที่เล็กก็อาจจะไม่ดีเท่าเครื่องใหญ่กว่าถ้าหากความแข็งแรงตัวเครื่องไม่เพียงพอ
  • ในงานที่ยากที่สุดจำเป็นต้องใช้มีดกี่ชนิดกี่ด้ามเพื่อให้งานสำเร็จตามความต้องการ